วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Knowledge Management

ความหมายของการบริหารจัดการความรู้ (KM)               

การบริหารจัดการความรู้  คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ
 เหตุผลของการนำ KM มาใช้
  1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน
  2. ความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด
  3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด
  4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
  5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
 ความรู้ในองค์กร(Knowledge in Organizations)
  1. ความรู้อย่างไม่เป็นทางการ (Tacit knowledge)
    เป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อ หรือความคิด สร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การถ่ายทอดความรู้ ความคิดผ่านการสังเกต การสนทนา  การฝึกอบรม
  2.  ความรู้อย่างเป็นทางการ (Explicit knowledge)
    • Object base  ความรู้ที่เกิดจากการสร้างขึ้นมา เช่นคู่มือ สิทธิบัตร
    • Rule base ความรู้ที่ถูกนำมาประมวลเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ
  3. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Cultural knowledge)เป็นความรู้ที่เกิดจากศรัทธา ความเชื่อ ที่ทำให้กลายเป็นความจริง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การเฝ้าสังเกต และการสะท้อนกลับของผลของตัวควบคุมและของสภาพแวดล้อม
 องค์ประกอบของ KM
  1. คน (People) ผู้ที่มีผลกระทบกับองค์กร KM จะรวบรวมว่าใครเชี่ยวชาญในด้านใดบ้าง ถ้ามีงานใหม่เข้ามาจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. สถานที่ (Place) ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วมกันได้ อาจอยู่ในรูปของเวปบอร์ด การประชุมทางไกล หรือโปรแกรมออนไลน์อื่น ๆ
  3. ข้อมูล (Thing) ทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยง่าย การวิเคราะห์แยกแยะหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
 องค์ประกอบหลักในการพัฒนา KM
  1. ผู้นำ (Leadership)
  2. วัฒนธรรม (Culture)
  3. การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access)
  4. เทคโนโลยี (Technology)
  5. วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture)
  6. บรรยากาศอิสระ แต่จริงจัง
แนวทางการพัฒนา KM
  1. กำหนดให้มีหัวหน้าคณะทำงาน (Chief Knowledge Officer) หรือการสร้างทีมงานในแต่ละสาขามาร่วมกันพัฒนากระบวนการทำงาน
  2. ระบุข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจให้ชัดเจน
  3. จัดทำ Workflow พัฒนากระบวนการทำงาน โดยการสร้างความรู้ การรวบรวมและการจัดเก็บ เพื่อเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์ที่ได้จากระบวนการดังกล่าวโดยให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปรับปรุง Workflow
  4. การสร้างและการถ่ายทอดความรู้ของบุคคลในองค์กรจะช่วยแก้ปัญหาให้งานสำเร็จและมีประสิทธิภาพขึ้น
  5. พัฒนาศูนย์ข้อมูลโดยอาศัยทักษะการถ่ายทอดหรือการเคลื่อนย้ายความรู้
  6. ทำระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประสานงานความร่วมมือ และการส่งเสริมการใช้ความรู้ร่วมกัน
 เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM (Knowledge Management Tools)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

CISSP

CISSP หรือ Certified Information Systems Security Professional เป็นcert ของค่าย  International Information Systems Security Certificatio...