วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561
เทคนิคการสอบเพื่อ Certified PMP
ในปี 2558 ที่จะมาถึงนี้ ประเทศในแถบอาเซียนทั้งหมดรวมถึงประเทศไทยจะเปิดเสรีในด้านแรงงานในหลากหลายสาขาอาชีพ นั่นหมายถึงธุรกิจในประเทศไทยจะมีตัวเลือกในการจ้างงานจากบุคคลากรประเทศอื่นได้ง่ายขึ้น แต่ในมุมกลับกันบุคคลากรในประเทศไทยก็ต้องพร้อมในการแข่งขันกับแรงงานจากประเทศอื่นๆ และในบริบทของผู้ที่มีอาชีพเป็นนักบริหารโครงการ หรือ Project Manager ผลกระทบของการเปิดเสรีอาเซียน ส่งผลให้เราต้องแข่งขันกับ Project Manager จากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเปิดโอกาสให้เราสามารถไปทำงานในบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเสรี การคัดเลือกบุคคลากรในปี 2558 จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่เป็นสากลเพื่อยืนยันทักษะและความสามารถของ Project Manager เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับบุคคลากรเข้าทำงานในบริษัทต่างชาติ จึงไม่แปลกที่ในช่วงก่อนปี 2558 นั้น Project Manager หลายๆประเทศในอาเซียน จึงมุ่งเน้นสอบ Certified PMP (Project Manager Professional) เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของตนเองให้โดดเด่นเป็นที่ต้องการของตลาดสากล ไม่เว้นแม่แต่ Project Manager สัญชาติไทย ก็ตกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน
การสอบ Certified PMP นั้นจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีทั้งในด้านการศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการฝึกฝนทำข้อสอบซึ่งมีจำนวน 200 ข้อ เป็นข้อสอบแบบตัวเลือก 4 ตัวเลือกและเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวปฏิบัติที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ PMP เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการสอบ เพื่อนำมาประกอบในการทำงานในฐานะผู้บริหารโครงการ หรือใช้ในการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ จากประสบการณ์การสอบ PMP และเป็นผู้บรรยายให้ผู้เรียนที่เตรียมตัวเพื่อเข้าสอบ PMP มานานหลายปี สามารถสรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้
1. ศึกษาข้อกำหนดในการสมัครสอบจาก Web Site www.pmi.org ซึ่งระบุคุณสมบัติของผู้สมัครสอบไว้ โดยสรุปดังนี้
ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1.1 จบการศึกษาระดับ High School (ม.6 หรือ ปวช.) และมีประสบการณ์เป็น Project Manager มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี หรือ 7,500 ชั่วโมงในการทำงานในฐานะผู้จัดการโครงการ และผ่านการอบรมด้านการบริหารโครงการ (Project Management Training) มาอย่างน้อย 35 ชั่วโมง
1.2 จบการศึกษาระดับ Bachelor’s Degree (ปริญญาตรี) และมีประสบการณ์เป็น Project Manager มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรือ 4,500 ชั่วโมงในการทำงานในฐานะผู้จัดการโครงการ และผ่านการอบรมด้านการบริหารโครงการ (Project Management Training) มาอย่างน้อย 35 ชั่วโมง
เมื่อมีคุณสมบัติครบดังกล่าว จึงดำเนินการสมัครสอบ PMP ใน Web Site www.pmi.org
2. การเตรียมตัวก่อนสอบเริ่มต้นด้วยการ หาหนังสือ Project Management Body of Knowledge (PMBOK) มาอ่าน ซึ่งแน่นอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษความหนาประมาณ 400 หน้า มีองค์ความรู้ที่ต้องเรียนทั้งหมด 9 องค์ความรู้ หนังสือ PMBOK สั่งซื้อได้โดยตรงจาก www.pmi.org ราคาประมาณ 2,000 บาท หรือสมัครเป็นสมาชิก PMI $139 (ประมาณ 4,000 บาท) ซึ่งจะได้รับ PMBOK และ Standard อื่นๆ ของ PMI ในรูปแบบ PDF File พร้อมสิทธิประโยชน์ในการลดค่าธรรมเนียมการสอบจาก $555 (ประมาณ 16,650 บาท) เหลือ $400 (ประมาณ 12,000 บาท) และการเข้าถึงคลังความรู้ด้านการบริหารโครงการอีกมากมายรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษ ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่จะเรียนรู้และคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษได้แล้ว เนื่องจากภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษากลางของโลกนี้ไปเรียบร้อยแล้ว องค์ความรู้ต่างๆในโลกได้ถูกบันทึกไว้เป็นภาษาอังกฤษเป้นส่วนใหญ่ ดังนั้นทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษย่อมเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคคลกรรุ่นใหม่บนโลกนี้ อย่าหาทางหลีกเลี่ยงโดยการหา PMBOK ภาษาไทยมาอ่าน เพราะสุดท้ายก็ต้องกลับมาอ่านภาษาอังกฤษเพื่อให้เข้าใจคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากข้อสอบทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนเทคนิคการอ่าน PMBOK ให้เข้าใจในรอบเดียวนั้น ต้องมีการจด Short Note ในทุกๆบท ทุกๆองค์ความรู้ที่อ่านไป จะใช้วิธีการจดเป็นข้อความช่วยจำสั้นๆ วาดรูปประกอบ หรือเขียนเป็น Mind Map ก็ได้ เพื่อให้ง่ายในการจดจำและง่ายในการอ่านทบทวน โดย Short Note ดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อผู้สอบในตอนทบทวนเพื่อจดจำความรู้ต่างๆที่ต้องใช้ในการสอบ
สำหรับบางท่านที่อ่าน PMBOK แล้วรู้สึกไม่เข้าใจ ไม่น่าจำหรืออ่านแล้วหลับทุกครั้งเพราะการวางรูปแบบเนื้อหาของแต่ละองค์ความรู้เหมือนกัน คือมี Input, Tools and Techniques และ Output ทำให้ไม่ดึงดูดใจในการอ่าน ผู้สอบอาจอ่านหนังสือประเภทเตรียมสอบ PMP เพิ่มเติม เช่น หนังสือของ Rita Mulcahy เป็นต้น เพราะหนังสือเตรียมสอบจะเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่าเครื่องมือด้านการบริหารโครงการต่างๆใช้อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้ผู้สอบเข้าใจการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น
นอกจาก PMBOK และหนังสือเตรียมสอบที่ผู้สอบต้องอ่านแล้ว การหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือด้านการบริหารโครงการอื่นๆก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะข้อสอบส่วนใหญ่ไม่ใช่คำถามในลักษณะตรงไปตรงมาว่ากระบวนการต่างๆคืออะไร Input, Tools and Techniques และ Output คืออะไร แต่เป็นคำถามเชิงสถานการณ์ที่ผู้สอบต้องวิเคราะห์จากความรู้และประสบการณ์ที่มี
3. การฝึกฝนทำข้อสอบ ควรแบ่งออกเป็น 2 ช่วงดังนี้
3.1 การทำข้อสอบท้ายบท หลังจากอ่านจบในแต่ละบทของ PMBOK เป็นการทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาองค์ความรู้ของแต่ละบท หลังจากอ่านจบในบทนั้นๆแล้ว เทคนิคการฝึกฝนทำข้อสอบ ควรให้เวลากับการดูเฉลยในแต่ละข้ออย่างละเอียดและเชื่อมโยงกลับไปยังเนื้อหาทฤษฎีที่อยู่ในหนังสือ เพื่อยืนยันว่าการเฉลยนั้นถูกต้องจริงหรือผู้ทำข้อสอบตอบผิดในข้อนั้นๆด้วยเหตุผลอะไร ด้วยวิธีการเช่นนี้ จะเป็นการทบทวนองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาอีกครั้ง โดยข้อสอบที่ใช้ฝึกฝนทำในแต่ละบทต้องไม่ต่ำกว่า 50 ข้อ
3.2 การทำข้อสอบแบบรวมทุกบทพร้อมๆกัน หลังจากอ่านและทำข้อสอบในแต่ละบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว การทำข้อสอบประเภทนี้ต้องผ่านการเตรียมตัวเป็นอย่างดีเพื่อฝึกฝนความอดทนและความรวดเร็วในการทำข้อสอบ เนื่องจากการสอบจริงมีข้อสอบ 200 ข้อใช้เวลา 4 ชั่วโมง (ข้อละ 72 วินาที) ซึ่งสร้างความเหนื่อยล้าให้กับผู้สอบอย่างมาก หากร่างกายไม่พร้อมหรือไม่คุ้นเคยกับการทำข้อสอบมากๆและนานๆ จะทำให้การสอบจริงเกิดการตัดสินใจผิดพลาดและสอบไม่ผ่าน ดังนั้นการฝึกฝนทำข้อสอบเสมือนจริง โดยจับเวลา 200 ข้อต่อ 4 ชั่วโมง (อาจจะเริ่มจาก 100 ข้อ ต่อ 2 ชั่วโมงก่อนก็ได้) ต้องทำหลายๆครั้ง (อย่างน้อย 5 ครั้ง) จนได้คะแนนเฉลี่ย 80% แล้วจึงพร้อมสำหรับการสอบจริง
จากข้อ 3.1 และ 3.2 ผู้สอบจำเป็นต้องมีคลังข้อสอบ PMP จำนวนมาก ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ที่ www.pmi.org หรือหา Download จาก Internet หรือสั่งซื้อจาก App Store มาเป็น Application ที่ Simulate การสอบใน Smart Phone ก็ได้ โดยเฉลี่ยผู้สอบควรผ่านการฝึกฝนทำข้อสอบอย่างน้อย 1,500 ข้อขึ้นไปจึงจะมั่นใจได้ว่าสอบผ่าน
4. การเตรียมตัวสอบ เนื่องจากการสอบ PMP เป้นการสอบในลักษณะ Computer Based Test ซึ่งผู้สอบจำเป็นต้องคุ้นเคยกับการใช้ Computer และอ่าน Instruction ของการสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ก่อนสอบควรอ่าน Short Note ที่บันทึกไว้เพื่อจดจำเนื้อหาสำคัญให้ได้ทั้งหมด ฝึกฝนเทคนิคการทำข้อสอบให้เร็ว เช่นการตัด Choice ผิด การคาดเดาแนวข้อสอบ เป็นต้น รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ ตั้งสมาธิ ระงับความตื่นเต้น และทานอาหารให้พอเหมาะก่อนเข้าห้องสอบ
ข้อปฏิบัติเพื่อเตรียมตัวทั้ง 4 ข้อข้างต้น เป็นแนวปฏิบัติที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง การเตรียมตัวสอบ PMP ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนทำงานประจำมาสมัครสอบนั้น ย่อมมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่นทักษะภาษาอังกฤษไม่ดี ไม่มีเวลาในการอ่านและเตรียมตัวเนื่องจากมีภาระงานประจำมาก การเข้าอบรมกับสถาบันฝึกอบรมต่างๆ ช่วยลดเวลาการเตรียมตัวได้ เนื่องจากมีผู้บรรยายมาอธิบายให้ฟังทำให้การอ่าน PMBOK ง่ายขึ้นรวมถึงเข้าใจแนวข้อสอบและเทคนิคการสอบ เนื่องจากผู้บรรยายมักจะมีตัวอย่างแนวข้อสอบมาแบ่งปันกับผู้เรียน หรือการเปิดติวสอบเป็นกลุ่มเล็กๆก็สามารถลดเวลาการเตรียมตัวลงได้ เนื่องจากเป็นการแบ่งงานกันศึกษาเพื่อมาทำ Knowledge Sharing กัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดต้องอาศัยความมุ่งมั่นและกำลังใจในการไปให้ถึงเป้าหมาย และสุดท้ายเราจะเรียนรู้ว่า PMP เปลี่ยนชีวิตเราได้ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
CISSP
CISSP หรือ Certified Information Systems Security Professional เป็นcert ของค่าย International Information Systems Security Certificatio...
-
Incident Management Incident Management – Objective and Overview จุดประสงค์หลักของ incident management คือ การทำให้ระบบ operation กล...
-
IT Service Management “IT Service Management” (ITSM) ซึ่งเป็น “กระบวนการบริหารจัดการงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ปรัชญาของหลักการ IT Se...
-
การเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการให้การเปลี่ยนแปลง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น